
วิทยาการคำนวณ ป.3 หน่วย 6 เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต
ระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยที่ : 5
เรื่อง : ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต
สาระ : สาระที่ 4 เทคโนโลยี
ตัวชี้วัด : ว 4.2 ป 3/5 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต
ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทันสื่อ นวัตกรรม ผลกระทบต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อการดำเนินชีวิต อาชีพสังคมและวัฒนธรรม
แนวคิดสำคัญ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เช่น ปกป้องข้อมูลส่วนตัว ขอความช่วยเหลือจากครูหรือผู้ปกครองเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้งาน เมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ทำให้ไม่สบายใจ การปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ตจะทำให้ไม่เกิด ความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น เช่น ไม่ใช้คำหยาบ ล้อเลียน ด่าทอ ทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือเสียใจ ข้อดีและข้อเสียในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
*เนื้อหาและรูปภาพการ์ตูนลิปดาโพล่านี้คือตัวอย่างหนังสือวิทยาการคำนวณ เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทอิมเมจิเนียริ่ง เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ไม่อนุญาตให้นำภาพประกอบไปใช้ในเชิงธุรกิจหรือแสวงหาผลกำไรต่าง ๆ หากต้องการนำเนื้อหาและรูปภาพไปใช้รบกวนติดต่อทีมงานก่อนทุกครั้ง เพื่อส่งเรื่องให้ทางผู้บริหารพิจารณาอนุมัติ
ยุคดิจิทัล (Digital Age) คือ ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีการสื่อสารผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสมาร์ตโฟนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet) ซึ่งมีความเร็วสูง ทำให้เกิดทั้งข้อดีและข้อเสียต่างๆ มากมาย
ดังนั้นการเป็น พลเมืองในยุคดิจิทัล ควรมีทักษะความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทันสื่อ นวัตกรรมและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อการดำเนินชีวิต อาชีพ สังคม และวัฒนธรรม หรือที่เรียกว่า ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล (Digital Literacy)
ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากยุคอนาล็อก ไปสู่ยุคดิจิทัล ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการทำงาน แต่อาจจะทำให้เกิดอันตรายจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เช่น การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวทำให้เกิดความอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินจากการโจรกรรมข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น ดังนั้นทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) จึงจำเป็นต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองต่อไปในอนาคต
ข้อมูลส่วนตัว
คือข้อมูลที่แสดงความเป็นตัวตนของเรา เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน ชื่อบัญชีผู้ใช้-รหัสผ่าน จำนวนเงินเลขที่บัญชีธนาคาร เป็นต้น
ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว (Safety & Privacy)
เป็นสิ่งที่ทุก ๆ คน และทุกเว็บไซต์ให้ความสำคัญมาก เพราะหากข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ถูกมิจฉาชีพในโลกอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า แฮกเกอร์ (Hacker) ขโมยไปจะเกิดผลกระทบมากมาย
อันตรายจากการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว
ฟิชชิง (Phishing) (ออกเสียงเหมือน Fishing) คือ อันตรายทางอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง มักจะมาในรูปแบบการปลอมแปลงอีเมล ข้อความ หรือการเข้ามาพูดคุย เพื่อหลอกให้เราเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เช่นหมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขประจำตัวผู้ใช้ (User Name) รหัสผ่าน (Password) หมายเลขบัตรประจำตัว เป็นต้น อันตรายจากการเผยแแพร่ข้อมูลส่วนตัวมีดังต่อไปนี้
ทำอย่างไรเมื่อมีบุคคลมาขโมยข้อมูลส่วนตัวไป
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง ซึ่งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผู้ใช้งานจะต้องใส่ข้อมูลส่วนตัวลงไปเพื่อยืนยันการเข้าใช้งาน จึงเป็นโอกาสของนักโจรกรรมข้อมูล หรือแฮกเกอร์ที่จะเจาะระบบเพื่อนำข้อมูลส่วนตัวออกมา ดังนั้นหากทราบว่าข้อมูลส่วนตัวถูกขโมยไปควรแจ้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบดังต่อไปนี้
ข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต
การติดต่อสื่อสารในโลกอินเทอร์เน็ตต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อสังคม ดังนั้นการสื่อสารจึงควรมี มารยาทและกาลเทศะ โดยควรสื่อสารข้อมูลที่เป็นจริง ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่ใช้อารมณ์ ใช้เหตุผล ใช้คุณธรรมจริยธรรมของสังคม รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นที่ตั้ง และที่สำคัญ ไม่สร้างผลกระทบให้กับผู้อื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
ทำอย่างไรเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ทำให้ไม่สบายใจ
การกลั่นแกล้งกันทางอินเทอร์เน็ตหรือบนโลกดิจิทัลมีด้วยกัน หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการใส่ร้าย เสียดสี ทำร้ายจิตใจคนอื่น โดยอาจส่งเป็นข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ผ่านโซเชียล ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
ร่องรอยในโลกอินเทอร์เน็ต (Digital Footprint)
ร่องรอยบนโลกอินเทอร์เน็ต (Digital Footprint) คือ ร่องรอยการกระทำของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น หากเราทำอะไรลงไปในโลกอินเทอร์เน็ตจะคงอยู่อย่างถาวรยากที่จะลบมันออกไปได้ และเมื่อบุคคลอื่นเข้ามาอ่านอาจนำข้อมูลของเราไปเผยแพร่ได้ จะทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเราและคนอื่นมากมาย ฉะนั้น เด็ก ๆ จะต้องระมัดระวังให้มากในการส่งข้อมูลลงไปในโลกของอินเทอร์เน็ต
ทำอย่างไรเมื่อเกิดปัญหาการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจจะเกิดปัญหาในด้านต่างๆ เช่น เกิดจากการใช้งานไม่ถูกต้องหรือเกิดจากอุปกรณ์ (Hardware) หรือจากซอฟต์แวร์ (Software) ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้งาน ควรจะดำเนินการดังต่อไปนี้
เว็บไซต์ commonsense media เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกได้พัฒนาหลักสูตรสำหรับพลเมืองในยุคดิจิทัลหรือเป็น ข้อตกลงหรือข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ตโดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร จากผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสาร ให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ด้วยความรวดเร็ว โดยผ่านสื่อ (Media) ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ แท็บเล็ต นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart Watch) และ แว่นตาอัจฉริยะ เป็นต้น
วิวัฒนาการของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ถูกพัฒนามาตลอดตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน โดยอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันสามารถส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วมากกว่า 100 GB โดยอุปกรณ์ที่ใช้กันในปัจจุบัน มีการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ให้ผสมรวมกัน ซึ่งจากตัวอย่างก็คือ
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมในการสื่อสาร
การสื่อสารในปัจจุบันนอกจากอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นแล้วยังต้องอาศัยเครื่องมือในการสื่อสารที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารซึ่งในปัจจุบัน โปรแกรมสื่อสังคมออนไลน์ เป็นโปรแกรมที่ได้ความนิยมมากที่สุด โดยลักษณะของการสื่อสารในปัจจุบัน สามารถส่งเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถส่งข้อมูลเป็นแบบปัจจุบัน ได้ทันที ซึ่งโปรแกรมหรือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารในปัจจุบันมีลักษณะดังต่อไปนี้
การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยปกป้องข้อมูลส่วนตัว
จุดประสงค์ : ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต (ว.4.2 ป.3/5)
อ่านเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
คุณแม่ถามลิปดาว่ากำลังทำอะไรอยู่ ลิปดาไม่ตอบ คุณแม่ถามอีกครั้ง ลิปดาบอกคุณแม่ว่ากำลังเล่นเกมโทรศัพท์และคุยกับเพื่อนใหม่อยู่คะ คุณแม่จึงถามว่าลิปดาคุยกับเพื่อนใหม่แล้วคุยเรื่องอะไรกันหรือคะ ลิปดาจึงตอบว่า ก็เล่าเรื่องราวส่วนตัวของลิปดาให้เพื่อนใหม่ฟังคะ คุณแม่จึงบอกว่าลิปดาควรจะใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยนะจ้า และควรรู้จักการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของตนเอง
กำหนดปัญหา : การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลส่วนตัวทำอย่างไร
ขั้นตอนการทำกิจกรรม
- ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 3-4 คน อ่านใบความรู้หน้า 160-165
- ให้นักเรียนค้นหาข่าวสาร จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เรื่อง การพบผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลส่วนตัวของบุคคลอื่นไปใช้ประโยชน์
- ให้นักเรียนนำข้อมูลข่าวสารที่ได้นำมานำเสนอในรูปแบบ ป้ายประกาศ พร้อมนำเสนอข้อมูลวิธีป้องกันและการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย
- ให้นักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียนหรือในรูปนิทรรศการ
วิเคราะห์ผล
- ข่าวสารเกี่ยวกับการขโมยข้อมูลส่วนตัวที่สืบค้นมาได้มีจำนวนมากหรือไม่
- ให้นักเรียนเปรียบเทียบวิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนกับเพื่อนต่างกลุ่มว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
สรุปท้ายกิจกรรม
- ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร มีวิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัวอย่างไร
- นักเรียนมีวิธีการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยอย่างไร
- ให้นักเรียนอธิบายอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากมีการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว
คำถามต่อยอดความรู้
นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลส่วนตัวมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
สำรวจทักษะที่ได้รับ
จากกิจกรรมนี้นักเรียนคิดว่านักเรียนได้รับทักษะอะไรบ้าง
พบข้อมูลหรือบุคคลที่ทำให้ไม่สบายใจในอินเทอร์เน็ตควรทำอย่างไร
จุดประสงค์ : ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต (ว.4.2 ป.3/5)
อ่านเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
คุณแม่คะ โพล่าเป็นอะไรก็ไม่รู้เล่นอินเทอร์เน็ตอยู่ๆ แล้วหน้าเครียดเลยคะ คุณแม่จึงเดินไปหาโพล่าและถามว่าเกิดอะไรขึ้น โพล่าจึงบอกว่ามีคนแปลกหน้ามาต่อว่าโพล่าครับ ตอนแรกเค้าก็พูดคุยกันดีครับแต่ไปสักพักเค้าก็เริ่มส่งข้อมูลที่มี คำหยาบ ล้อเลียน ด่าทอ ทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือเสียใจครับ คุณแม่จึงบอกโพล่าว่า เมื่อเกิดปัญหาจากการใช้งาน เมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ทำให้ไม่สบายใจ ควรขอความช่วยเหลือจากครูหรือผู้ปกครอง
กำหนดปัญหา : เมื่อเกิดปัญหาจากการใช้งานเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ทำให้ไม่สบายใจควรทำอย่างไร ข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ตคืออะไร
ขั้นตอนการทำกิจกรรม
- ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 3-4 คน อ่านใบความรู้หน้า 168-173
- ให้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมและเขียนแผนที่ความคิดเพื่อสรุปเนื้อหาดังต่อไปนี้
– ข้อตกลงในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
– หากพบผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ตควรทำอย่างไร
โดยให้นักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาลงในกระดาษเทาขาว
- ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียนหรือในรูปนิทรรศการ
วิเคราะห์ผล
ให้นักเรียนเปรียบเทียบข้อมูลการนำเสนอของนักเรียนกับเพื่อนต่างกลุ่มว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
สรุปท้ายกิจกรรม
- เพราะเหตุใดนักเรียนจึงควรปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต
- หากพบข้อมูลหรือบุคคลที่ทำให้ไม่สบายใจจะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
คำถามต่อยอดความรู้
จากความรู้เรื่องการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้งานอินเทอร์และแนวทางแก้ไขเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ทำให้ไม่สบายใจนักเรียนสามารถนำรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
สำรวจทักษะที่ได้รับ
จากกิจกรรมนี้นักเรียนคิดว่านักเรียนได้รับทักษะอะไรบ้าง
ข้อดีและข้อเสียในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จุดประสงค์ : ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต (ว.4.2 ป.3/5)
อ่านเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
คุณแม่คะ วันนี้มีข่าวเด็กเล่นโทรศัพท์มากจนเกิดปัญหาจอประสาทตาเสื่อมจนเกือบตาบอดคะ คุณแม่จึงตอบว่า ใช่แล้วคะถึงแม้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีข้อดีหลายด้านแต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน ดังนั้นเวลาคุณแม่บอกให้ลิปดาหยุดเล่นโทรศัพท์เนื่องจากใช้งานโทรศัพท์นานแล้ว แต่ลิปดากลับบอกว่าข้อดีของการใช้งานอยู่ จึงไม่ถูกต้อง ลิปดาควรจะหยุุดเล่นนะคะ
กำหนดปัญหา : ข้อดีและข้อเสียในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ขั้นตอนการทำกิจกรรม
- ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 3-4 คน อ่านใบความรู้หน้า 176-179
- ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
– ความหมาย ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
– โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสื่อสาร
– ข้อดีและข้อเสียในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
โดยยกตัวอย่างข่าวสารข้อดีและข้อเสียของการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารอย่างละ 1 ตัวอย่าง
- ให้นักเรียนสรุปผลและเขียนแผนภาพความคิดลงในกระดาษเทาขาว
- ให้นักเรียนร่วมกันนำเสนอตัวอย่างหน้าชั้นเรียน
วิเคราะห์ผล
จากการนำเสนอหน้าชั้นเรียนของเพื่อนๆในห้องเรียน นักเรียนประทับใจประทับใจในข้อดีและตระหนักถึงปัญหาของข่าวสารใดมากที่สุดเพราะเหตุใต
สรุปท้ายกิจกรรม
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคืออะไรมีประโยชน์อย่างไร
- ให้นักเรียนระบุชื่อโปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสาร
- ให้นักเรียนอธิบายข้อดีและข้อเสียของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเขียนเป็นแผนภาพความคิด
คำถามต่อยอดความรู้
จากความรู้เรื่องข้อดีและข้อเสียในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นักเรียนคิดว่าจะนำความรู้นี้ไปเผยแพร่กับบุคคลอื่นได้อย่างไร
สำรวจทักษะที่ได้รับ
จากกิจกรรมนี้นักเรียนคิดว่านักเรียนได้รับทักษะอะไรบ้าง