บทเรียน

วิทยาศาสตร์ ป.4

เนื้อหาทั้งหมด 6 หน่วยการเรียน

สะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์) ป.4 หน่วย 6 เรื่อง การขึ้นตกของดวงจันทร์ และระบบสุริยะ

ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 4
หน่วยที่ :
ุ6
เรื่อง :
การขึ้นตกของดวงจันทร์ และระบบสุริยะ
สาระ :
สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ
ตัวชี้วัด :
ว 3.1.1 อธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
ว 3.1.2 สร้างแบบจำลองที่อธิบายแบบรูปการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์และพยากรณ์รูปร่างปรากฏของดวงจันทร์
ว 3.1.3 สร้างแบบจำลองแสดงองค์ประกอบของระบบสุริยะและอธิบายเปรียบเทียบคาบการโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆจากแบบจำลอง
บทนำของเรื่อง :
ระบบสุริยะเป็นระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีบริวารประกอบด้วย ดาวเคราะห์ 8 ดวง และวัตถุขนาดเล็ก เช่น ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง เป็นบริวารโคจรล้อมรอบหรือดาวเคราะห์บางดวงมีดวงจันทร์เป็นบริวารโคจรล้อมรอบ เช่น โลกจะมีดวงจันทร์เพียงดวงเดียว และมีรูปร่างเป็นทรงกลม ถ้าโลกเราจะเห็นดวงจันทร์ปรากฏขึ้นทางด้านทิศตะวันออกและตกทางด้านทิศตะวันตกหมุนเวียนเป็นแบบรูปซ้ำ ๆ

Sun Earth Moon Model

แนวความคิด : แบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์ ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โดยดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองขณะโคจรรอบโลก ขณะที่โลกก็หมุนรอบตัวเองด้วยเช่นกันการหมุนรอบตัวเองของโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

อุปกรณ์ :

  1. ลูกโฟม
  2. หลอดไฟชุดถ่านไฟฉาย
  3. ชุดประกอบ
  4. อุปกรณ์ตกแต่ง

ภารกิจ :

  1. ประดิษฐ์ชุดจำลอง ดวงอาทิตย์ โลก และ ดวงจันทร์
  2. อธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์

ให้นักเรียนทำกิจกรรมและตอบคำถามต่อไปนี้
ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารของโลก [ ] จริง [ ] ไม่จริง
ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองขณะที่หมุนรอบโลกขณะโลกหมุนรอบตัวเอง [ ] จริง [ ] ไม่จริง
การหมุนรอบตัวเองของโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา [ ] จริง [ ] ไม่จริง โดยเมื่อมอง
จากขั้วโลกเหนือจะมองเห็นดวงจันทร์ปรากฏขึ้นและตกทิศใด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ปรากฏการณ์ขึ้นและตกของดวงจันทร์

01 Inspiration & Engagement
ตอนนี้เป็นเวลากลางคืน ลิปดาและโพล่าจึงถามอาจารย์กั๊กว่าดวงจันทร์จะออกมาไหมคะแล้วจะออกมาทางทิศไหน (ขึ้นและตกทางทิศทางไหน) และจะเหมือนเดิมทุกวันหรือไม่คะ

02 Problem & Question
ดวงจันทร์ขึ้นและตกทางทิศไหนกันและจะเหมือนกันทุกวันหรือไม่

03 Definition
ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โดยดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองขณะโคจรรอบโลก ขณะที่โลกก็หมุนรอบตัวเองด้วยเช่นกัน การหมุนรอบตัวเองของโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ทำให้มองเห็นดวงจันทร์ปรากฏขึ้นทางด้านทิศตะวันออกและตกทางด้านทิศตะวันตกหมุนเวียนเป็นแบบรูปซ้ำๆ โดยดวงจันทร์เป็นวัตถุที่เป็นทรงกลมแต่รูปร่างของดวงจันทร์ที่มองเห็นหรือรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์บนท้องฟ้าแตกต่างกันไปในแต่ละวัน

04 Hands – On Activity

  1. ให้สำรวจเวลาและทิศ การขึ้นและตกของดวงจันทร์ โดยให้เริ่มสังเกตในวันแรมหรือวันขึ้น 1, 3, 5, 7, 9, 11, 13, และ15 ค่ำ รวมระยะเวลาทั้งหมด 7 วัน พร้อมบันทึกรูปร่างที่สังเกตเห็น
  2. ให้วาดภาพแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์

05 Materials

  1. สมุดบันทึก สมุดวาดรูป

06 Data Collection
ให้สำรวจเวลาและทิศ การขึ้นและตกของดวงจันทร์ โดยให้สังเกตในวันแรมหรือวันขึ้น 1, 3, 5, 7, 9, 11, 13, และ15 ค่ำ รวมระยะเวลาทั้งหมด 7 วัน บันทึกและอภิปรายร่วมกัน

07 Analysis & Discussion

  1. ดวงจันทร์แต่ละวันรูปร่าง [ ] เหมือนกัน [ ] แตกต่างกัน
  2. ดวงจันทร์จะขึ้นทางทิศ [ ] ตะวันออก [ ] ตะวันตก
  3. ดวงจันทร์จะตกทางทิศ [ ] ตะวันออก [ ] ตะวันตก

08 Conclusion
อธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

09 Knowledge Tank

การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลก
ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในทิศทางเดิม เนื่องจาก โลกของเราหมุนรอบตัวเอง โดยเมื่อตัวเรายืนอยู่บนผิวโลกเราก็จะหมุนเคลื่อนที่ตามการหมุนของโลกเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากเรายืนอยู่บนโลกที่มีขนาดใหญ่มาก ทำให้เราไม่รู้สึกว่าเราและโลกมีการเคลื่อนที่อยู่และยังทำให้เราเข้าใจผิดว่าดวงอาทิตย์เคลื่อนที่รอบโลก แต่ความจริงแล้วคือ ดวงอาทิตย์อยู่นิ่งกับที่โลกหมุนทวนเข็มนาฬิกาทำให้เราเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกในทิศตะวันตก โดย 1 รอบการหมุนของโลก ก็คือ 1 วันหรือ ประมาณ 24 ชั่วโมง

เมื่อเวลา 6.00 น. ตอนเช้า

ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก พระอาทิตย์จะอยู่ขวามือของลิปดา

เมื่อเวลา 12.00 น. ตอนเที่ยง

ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะ

เมื่อเวลา 18.00 น. ตอนเย็น

ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก พระอาทิตย์จะอยู่ซ้ายมือของลิปดา

ลักษณะของการขึ้นและตกของดวงจันทร์
โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ กินเวลา 24 ชั่วโมง ในขณะที่ดวงจันทร์จะหมุนรอบโลกใช้เวลา 27.3 วัน ทำให้ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ช้ากว่าการหมุนรอบตัวเองของโลก เราจึงเห็นดวงจันทร์มาปรากฏให้เห็น ณ ตำแหน่งเดิมช้าลงทุกวันจึงทำให้เห็นรูปร่างของ ดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไปทุกวันแต่จะเห็นดวงจันทร์ขึ้นในทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์เพราะการหมุนรอบตัวเองทวนเข็มนาฬิกาของโลกไม่ใช่การที่ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เคลื่อนที่รอบโลก

เมื่อเวลา 19.00 น. ตอนพลบค่ำ

ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระจันทร์ขึ้นทางทิศตะวันออกพระจันทร์จะอยู่ขวามือของลิปดา

เมื่อเวลา 12.00 น. ตอนเที่ยงคืน

ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระจันทร์อยู่เหนือศีรษะ

เมื่อเวลา 5.00 น.

ตอนใกล้รุ่งเช้า
ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระจันทร์ตกทางทิศตะวันตกพระจันทร์จะอยู่ซ้ายมือของลิปดา

ลักษณะการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์     ลักษณะการขึ้นและตกของดวงจันทร์

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

โลกและดวงจันทร์
ดวงจันทร์เป็นบริวารดวงเดียวของโลก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร เล็กกว่าโลกประมาณ 1 ใน 4 โดย ดวงจันทร์มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางโลกถึงศูนย์กลางดวงจันทร์ประมาณ 384,467 กิโลเมตร ในปี ค.ศ. 1969 มนุษย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ คือ นีล อาร์มสตรอง และบัซ อัลดริน ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองขณะโคจรรอบโลก ขณะที่โลกก็หมุนรอบตัวเองด้วยเช่นกัน การหมุนรอบตัวเองของโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากขั้วโลกเหนือ ทำให้มองเห็นดวงจันทร์ปรากฏขึ้นทางด้านทิศตะวันออกและตกทางด้านทิศตะวันตกหมุนเวียนเป็นแบบรูปซ้ำๆ

ลักษณะดวงจันทร์ในแต่ละคืน
“ดวงจันทร์” เป็นองค์ประกอบหนึ่งในระบบสุริยะ โดยเป็นดาวบริวารของโลกและเป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง (ดาวเคราะห์) แต่แสงที่เราเห็นนั้น เกิดจากแสงอาทิตย์ตกกระทบดวงจันทร์แล้วสะท้อนมายังโลก การมองเห็นดวงจันทร์ในรูปลักษณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ โดย ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองทวนเข็มนาฬิกา 1 รอบ 27.3 วัน ในขณะเดียวกันโคจรรอบโลก (มีลักษณะเป็นวงรี) 1 รอบ กินเวลา 27.3 วัน เท่ากันทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ในด้านเดียวเสมอ ซึ่งเรียกว่า ด้านใกล้ ส่วนด้านที่เรามองไม่เห็นจะเรียกว่า ด้านไกล

ในขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองและหมุนรอบโลก ก็จะเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ด้วย เช่นกัน ทำให้มุมระหว่าง ดวงอาทิตย์ – ดวงจันทร์ – โลก เปลี่ยนแปลงไปวันละ 12 องศา ทำให้มองเห็นดวงจันทร์จากโลกในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งจะซ้ำรอบทุก ๆ ช่วง 29.5 วัน ซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ข้างขึ้น-ข้างแรม”3

การอ่านข้างขึ้น-ข้างแรม
ปฏิทินที่เราใช้กันทุกวันนี้จะบอกข้างขึ้นข้างแรม โดยเฉพาะปฏิทินแบบไทย คือแบ่งเดือนทางจันทรคติออกเป็น 30 วัน คือ วันขึ้น 1 ค่ำ – วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ – วันแรม 15 ค่ำ โดยถือ ให้วันขึ้น 15 ค่ำ (ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง), วันแรม 15 ค่ำ (ดวงจันทร์มืดทั้งดวง), วันแรม 8 ค่ำ และวันขึ้น 8 ค่ำ (ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง) เป็นวันพระ4 วันใน 1 เดือน

จากตัวอย่างปฏิทินเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 หรือ ค.ศ. 2017 วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำคือวันที่ 28 ธันวาคม 2559 จนถึงวันที่ 12 มกราคม (วันที่ดวงจันทร์เต็มดวง) หลังจากนั้น วันที่ 13 มกราคม ถึง วันที่ 27 มกราคม เป็นวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ (วันที่ดวงจันทร์มืดทั้งดวง) และวันที่ 28 มกราคม ก็กลับมาเป็นวันขึ้น 1 ค่ำอีกครั้งหนึ่ง โดยวันแรม 8 ค่ำและวันขึ้น 8 ค่ำ ก็คือ วันที่ 5 และวันที่ 20 มกราคม ก็คือวันพระ โดยรูปร่างของดวงจันทร์จะแบ่งออกได้เป็น 8 ระยะดังนี้

ดวงจันทร์เป็นวัตถุที่เป็นทรงกลม แต่รูปร่างของดวงจันทร์ที่มองเห็นหรือรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์บนท้องฟ้าแตกต่างกันไปในแต่ละวัน โดยในแต่ละวันดวงจันทร์จะมีรูปร่างปรากฏเริ่มเป็นเสี้ยว ระยะที่ 2 และมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเต็มดวง ระยะที่ 5 จากนั้นรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์จะแหว่งและมีขนาดลดลงอย่างต่อเนื่องจนมองไม่เห็นดวงจันทร์กลายเป็น ระยะที่ 1 อีกครั้งจากนั้นรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์จะเป็นเสี้ยวใหญ่ขึ้นจนเต็มดวงอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นแบบรูปซ้ำกันทุกเดือน

รูปร่างของดวงจันทร์ (Lunar Phases) ดวงจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงทุกเดือน รูปร่างจะเปลี่ยนไปตามระยะต่างๆ หรือ เฟส (phases) เกิดจากการมองเห็นด้านสว่างของดวงจันทร์ ซึ่งเกิดจากแสงอาทิตย์ตกกระทบดวงจันทร์แล้วสะท้อนมายังโลกในมุมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับดวงจันทร์จะอยู่ตรงตำแหน่งใด แบ่งเป็น 8 ระยะดังนี้ คือ

 

สำรวจดวงดาวในระบบสุริยะ

01 Inspiration & Engagement
ลิปดาเห็นข่าวภัยพิบัติต่างๆ มากมาย เนื่องจากมนุษย์ใช้ทรัพยากรและทำลายโลกอย่างมากมายถ้ามนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้แล้ว เราจะสามารถไปอยู่ดาวดวงไหนได้บ้างนะ

02 Problem & Question
แสงทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร

03 Definition
ระบบสุริยะจักรวาล หมายถึง ระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีวัตถุจำนวนหนึ่งถูกดึงดูดให้โคจรรอบดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์บริวารทั้ง 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และยังประกอบด้วยดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์

04 Hands – On Activity

  1. ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ว่ามีดาวอะไรบ้างและระยะห่างจากดวงอาทิตย์, เส้นผ่าศูนย์กลาง, ช่วงเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์, อัตราการหมุนรอบตัวเอง, สีของดาว, อุณหภูมิพื้นผิว เป็นอย่างไร
  2. บันทึกผลและสรุปผลข้อมูล

05 Materials

  1. สมุดบันทึก
  2. เครื่องจดบันทึก
  3. คอมพิวเตอร์

06 Data Collection
ให้สำรวจ และนับจำนวนสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในห้องมืดหรือกล่องดำแล้วบันทึกลงในตาราง

07 Analysis & Discussion
จากตารางให้นักเรียนเรียงลำดับดาวเคราะห์ที่ขนาดใหญ่ที่สุดไปหาเล็กที่สุด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ระบบสุริยะประกอบด้วยอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

ระบบสุริยะ หมายถึง ระบบที่มี ดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางและมีวัตถุจำนวนหนึ่งถูกดึงดูดให้โคจรรอบดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์บริวาร ทั้ง 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุทธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน และยังมีดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย , ดาวหาง , ดาวตกหรืออุกกาบาตและดวงจันทร์ ซึ่งดาวเหล่านี้จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในขณะเดียวกันก็หมุนรอบตัวเองด้วย

1. ดวงอาทิตย์ (Sun)
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ทรงกลมขนาดใหญ่ ที่มีแสงสว่างในตัวเอง เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาล มีอายุ 5,000 ล้านปี ดวงอาทิตย์นอกจากจะทำหน้าที่ให้ความร้อนและให้แสงสว่างแก่ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะแล้วนั้นยังมีความสำคัญต่อโลกของเรา เช่น ให้พลังงานความร้อน และพลังงานแสงรวมถึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติด้วย

ข้อมูลจำเพาะของดวงอาทิตย์

  1. อยู่ห่างจากโลก 150 ล้านกิโลเมตร
  2. จัดเป็นดาวประเภทกลุ่มก๊าซ
  3. พลังงานจำนวนมหาศาลในดวงอาทิตย์ได้มาจากการเปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนเป็น ฮีเลียม
  4. พื้นผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงถึง 5,515 องศาเซลเซียส
  5. บริเวณตรงกลางของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส
  6. แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมายังโลกทั้งสิ้น 8.3 นาที
  7. คาบการหมุนรอบตัวเอง 25.38 วันบนโลก
  8. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1,391,980 กิโลเมตร (โลก 12,756 กิโลเมตร ที่เส้นศูนย์สูตร) มากกว่าโลกของเรา 109 เท่า
  9. มีปริมาตร 1,300,000 เท่าของโลก และมีมวล มากกว่าโลกของเรา 333,434 เท่า
  10. ความสว่างสูงสุด -26.8 (600,000 เท่าของความสว่างของดวงจันทร์) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง
  11. กาลิเลโอเป็นคนแรก ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง (ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ www.lesa.biz)

2. ดาวเคราะห์บริวาร (Planets)
คือบริวารขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์มี 8 ดวง เรียงลำดับจากใกล้ไปไกล ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์​ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ทั้ง 8 โคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยมีระนาบใกล้เคียงกับระนาบสุริยวิถีดาวเคราะห์ชั้นใน 4 ดวงแรก
มีองค์ประกอบหลักเป็นของแข็ง ดาวเคราะห์ชั้นนอก 4 ดวงหลังมีองค์ประกอบหลักเป็นก๊าซไฮโดรเจนเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์เกือบทุกดวงหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางเดียวกัน

เราสามารถแบ่งประเภทของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะโดยใช้เกณฑ์ในการแบ่งที่ต่างกันได้ ดังนี้ (ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์
www.lesa.biz)

1. ใช้ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ แบ่งได้ เป็น 2 ประเภท

1.1 ดาวเคราะห์วงใน (Inferior Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ เราจึงมองเห็นดาวเคราะห์วงในอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกเวลาพลบค่ำหรือเหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเวลารุ่งเช้าเท่านั้น

1.2 ดาวเคราะห์วงนอก (Superior Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ชั้นนอกสามารถปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนในช่วงเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เวลาขึ้นหรือตกเมื่อส่องดูด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นว่าดาวเคราะห์ชั้นนอกปรากฏให้เห็นเป็นวงค่อนข้างกลมและมีขนาดค่อนข้างคงที่ เนื่องจากอยู่ไกลจากโลกมากกว่าดวงอาทิตย์ จึงหันด้านที่สะท้อนแสงอาทิตย์เข้าสู่โลกเสมอ

2. ใช้ลักษณะพื้นผิวเป็นเกณฑ์ แบ่งดาวเคราะห์ได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.1 ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets) หรือ ดาวเคราะห์แข็ง (Terrestrial planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวเป็นของแข็ง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กและมีมวลน้อย เนื่องจากบรรยากาศที่ห่อหุ้มดาวถูกทำลายโดยรังสีคลื่นสั้นและอนุภาคพลังงานสูงที่มากับลมสุริยะ จึงเหลือแต่พื้นผิวที่เป็นของแข็ง

2.2 ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets) หรือ ดาวเคราะห์ก๊าซ (Giant Gas – Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาแน่น ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่และมีมวลมาก เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากอิทธิพลของรังสีและลมสุริยะบรรยากาศจึงสามารถคงอยู่ได้อย่างหนาแน่น ดาวเคราะห์ชั้นนอกมีมวลมากจึงมีแรงโน้มถ่วงสูง ทำให้ดึงดูดสสารทั้งหลายมาสะสมไว้ภายใน และเป็นดวงจันทร์บริวาร

สนามแรงโน้มถ่วงความเข้มสูงทำให้เกิดแรงไทดัลบนวัตถุที่เข้ามาใกล้ แล้วแตกสลายกลายเป็นวงแหวน

หากพิจารณาโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์ชั้นนอกซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจนดังเช่นดวงอาทิตย์​ ดังนั้นหากดาวเคราะห์ก๊าซสามารถสะสมมวลให้มากพอที่จะกดดันให้ใจกลางของดาวมีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน ก็จะสามารถฟิวชันไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียมเกิดเป็นดาวฤกษ์และหากนำบรรยากาศที่หนาแน่นด้วยก๊าซไฮโดรเจนนี้ออกไปดาวเคราะห์ชั้นนอกก็จะมีสภาพเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่มีพื้นผิวเป็นของแข็ง เช่น ดาวเคราะห์ชั้นในนั่นเอง

2.1 ดาวพุธ (Mercury)

เป็นดาวเคราะห์ซึ่งอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก ได้รับ สมญานามว่า เตาไฟแช่แข็ง เนื่องจากโครงสร้างภายในของดาวพุธประกอบไปด้วยแกนเหล็กขนาดใหญ่

พื้นผิวดาวพุธเต็มไปด้วยหลุมบ่อมากมายคล้ายกับพื้นผิวดวงจันทร์ มีเทือกเขาสูงใหญ่ และแอ่งที่ราบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป สันนิษฐานว่าแอ่งที่ราบขนาดใหญ่เช่นนี้ เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะ

ข้อมูลจำเพาะของดาวพุธ

  1. ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 57.91 ล้านกิโลเมตร
  2. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเท่ากับ 87.97 วัน
  3. หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 58.65 วัน
  4. รัศมีของดาว 2,440 กิโลเมตร
  5. ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้ม
  6. อุณหภูมิ -180°C ตอนกลางคืน ถึง 430°C ตอนกลางวัน
  7. ไม่มีดวงจันทร์​ และไม่มีวงแหวน
  8. มองเห็นในเวลาพลบค่ำทางทิศตะวันตกและตอนเช้าตรู่ทางทิศตะวันออก

2.2 ดาวศุกร์ (Venus)

อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ดาวศุกร์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับโลก ชั้นบรรยากาศมีความหนาทึบ หนาแน่นกว่าโลก 100 เท่า ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกซึ่งจะกักเก็บความร้อนไว้ ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง 470°C จะเห็นได้ว่าพื้นผิวดาวศุกร์ร้อนกว่าพื้นผิวดาวพุธมาก ทั้งๆ ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์กว่าดาวพุธถึงสองเท่า

ข้อมูลจำเพาะของดาวศุกร์

  1. ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 108.21 ล้านกิโลเมตร
  2. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเท่ากับ 224.70 วัน
  3. หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 243.02 วัน (หมุนย้อนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น)
  4. รัศมีของดาว 6,052 กิโลเมตร
  5. องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คาร์บอนไดออกไซด์
  6. อุณหภูมิพื้นผิว 470°C ไม่มีดวงจันทร์​ ไม่มีวงแหวน
  7. มองเห็นในเวลาพลบค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า ดาวประจำเมือง และตอนเช้าตรู่ทางทิศตะวันออก เรียกว่า ดาวประกายพรึก หรือ ดาวรุ่ง

2.3 โลก (Earth)

โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ได้รับสมญานามว่า ดาวมหาสมุทร เนื่องจากพื้นผิวประกอบด้วยน้ำ 3 ใน 4 บรรยากาศของโลกประกอบด้วยไนโตรเจน 77% ออกซิเจน 21% ที่เหลือเป็นอาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ช่วยในการกักเก็บความร้อนไว้ภายใต้ชั้นบรรยากาศโดยอาศัยภาวะเรือนกระจก ทำให้โลกมีความอบอุ่น เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสภาวะแวดล้อมเหมาะต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

ข้อมูลจำเพาะของโลก

  1. ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 149.60 ล้านกิโลเมตร
  2. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเท่ากับ 365.25 วัน
  3. หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 23.93 ชั่วโมง
  4. รัศมีของโลก 6,378 กิโลเมตร
  5. องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คือไนโตรเจน และออกซิเจน
  6. อุณหภูมิพื้นผิว -88°C ถึง 58°C
  7. มีดวงจันทร์ 1 ดวง​ ไม่มีวงแหวน

2.4 ดาวอังคาร (Mars)

เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด ได้รับสมญานามว่า ดาวเทพแห่งสงคราม เนื่องจากพื้นผิวมีสีแดง เต็มไปด้วยหิน ฝุ่นและหุบเหว มีบรรยากาศเบาบางมาก ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งเกิดจากการระเหิดของน้ำแข็งแห้ง (คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) ปกคลุมอยู่ทั่วไปบนพื้นผิวดาวอังคาร ที่บริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของดาวมีน้ำแข็ง

ข้อมูลจำเพาะของดาวอังคาร

  1. ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 227.94 ล้านกิโลเมตร
  2. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเท่ากับ 1.88 ปี (687 วัน)
  3. หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 24.62 วัน
  4. รัศมีของดาว 3,397 กิโลเมตร
  5. องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนและอาร์กอน
  6. อุณหภูมิ -87°C ถึง -5°C
  7. มีดวงจันทร์ 2 ดวง คือ โฟบัส และดีมอส ​ ไม่มีวงแหวน

2.5 ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

เป็นดาวเคราะห์ ดวงที่ 5 ที่มีความสว่างมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ ได้รับสมญานามว่า โลกยักษ์ เพราะเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ แต่หมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้เวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมง แรงหนีศูนย์กลางเหวี่ยงให้ดาวมีสัณฐานเป็นทรงแป้นและทำให้การหมุนเวียนของชั้นบรรยากาศแบ่งเป็นแถบสีสลับกันมี จุดแดงใหญ่บริเวณ ด้านใต้ของดาว ซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซร้อนหมุนวนด้วยความเร็วสูง

ข้อมูลจำเพาะของดาวพฤหัสบดี

  1. ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 778.41 ล้านกิโลเมตร
  2. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเท่ากับ 11.86 ปี
  3. หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 9.92 ชั่วโมง
  4. รัศมีของดาว 71,492 กิโลเมตร
  5. องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คือ ไฮโดรเจน ฮีเลียม
  6. อุณหภูมิเฉลี่ย -148°C
  7. ดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 62 ดวง ​และวงแหวน 3 วง
  8. ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดถูกพบโดย กาลิเลโอ คือ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีดและคัลลิสโต

2.6 ดาวเสาร์ (Saturn)

เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะกาลิเลโอพบดาวเสาร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2153 ได้รับสมญานามว่าเทพเจ้าแห่งเกษตร เนื่องจากมีมวลมากจึงมีแรงโน้มถ่วงมาก สามารถดูดจับดาวเคราะห์น้อยและดาวหางมาเป็นบริวาร ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีวงแหวนที่เป็นลักษณะเด่นที่สวยงามถึง 7 ชั้น ปัจจุบันมีดวงจันทร์ที่ถูกค้นพบแล้ว 62 ดวง ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือไททัน มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ ไททัน มีชั้นบรรยากาศหนาแน่นกว่าโลก มีลักษณะคล้ายคลึงกับชั้นบรรยากาศของโลก ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์สนใจมากเพราะอาจจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ข้อมูลจำเพาะของดาวเสาร์

  1. ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 1,427 ล้านกิโลเมตร
  2. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 29.4 ปี
  3. หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10.66 ชั่วโมง
  4. รัศมีของดาว 60,268 กิโลเมตร
  5. องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คือ ไฮโดรเจน ฮีเลียม
  6. อุณหภูมิเฉลี่ย -178°C
  7. ดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 62 ดวง ​และวงแหวนที่ค้นพบแล้ว 7 วง

2.7 ดาวยูเรนัส (Uranus)

ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิลเลี่ยม เฮอส์เชล ในปี พ.ศ. 2534 สองร้อยปีต่อมายานวอยเอเจอร์ 2 ทำการสำรวจดาวยูเรนัสในปี พ.ศ. 2529 มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของระบบสุริยะ บรรยากาศของดาวยูเรนัสประกอบด้วยไฮโดรเจน 83% ฮีเลียม 15% และมีเทน 2% ดาวยูเรนัสมีสีฟ้าเนื่องจากก๊าซมีเทนดูดกลืนสีแดงและสะท้อนสีน้ำเงิน บรรยากาศมีลมพัดแรงมาก ลึกลงไปที่แก่นของดาวห่อหุ้มด้วยโลหะไฮโดรเจนเหลว

ข้อมูลจำเพาะของดาวยูเรนัส

  1. ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 2,870 ล้านกิโลเมตร
  2. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 80 ปี
  3. หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 17.24 ชั่วโมง
  4. รัศมีของดาว 25,559 กิโลเมตร
  5. องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คือ ไฮโดรเจน ฮีเลียม
  6. อุณหภูมิ -216°C
  7. ดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 27 ดวง และวงแหวนที่ค้นพบแล้ว 13 วง

2.8 ดาวเนปจูน (Neptune)

เป็นดาวเคราะห์ที่ 8 ของระบบสุริยะ ดาวเนปจูนมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับดาวยูเรนัส คือ มีบรรยากาศเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน เจือปนอยู่จึงมีสีน้ำเงิน ดาวเนปจูนมีขนาดเล็กกว่าดาวยูเรนัสเล็กน้อย แต่มีความหนาแน่นมากกว่า โดยที่แกนของดาวเนปจูนเป็นของแข็งมีขนาดใกล้เคียงกับโลกของเรา ดาวเนปจูนมีวงแหวน 4 วง แต่ละวงมีความสว่างไม่มากนัก เพราะประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็ก จนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร เช่นเดียวกับวงแหวนของดาวพฤหัสบดีและดาวยูเรนัส

ข้อมูลจำเพาะของดาวเนปจูน

  1. ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 4,498 ล้านกิโลเมตร
  2. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเท่ากับ 164.8 ปี
  3. หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 16.11 ชั่วโมง
  4. รัศมีของดาว 24,764 กิโลเมตร
  5. องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ ไฮโดรเจน ฮีเลียม
  6. อุณหภูมิ -214°C
  7. ดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 13 ดวง มีวงแหวนที่ค้นพบแล้ว 6 วง

3. ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets)
เป็นนิยามของสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union)

  1. เทหวัตถุขนาดเล็กที่มีรูปร่างคล้ายทรงกลม
  2. มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์
  3. วงโคจรซ้อนทับกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และไม่อยู่ในระนาบของสุริยวิถี เช่น
    3.1 ดาวพลูโตถูกจัดเป็นดาวเคราะห์แคระ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายทรงกลม มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ซ้อนทับกับวงโคจรของดาวเนปจูนและเอียงตัดกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุม 17°
    3.2 ดาวเคราะห์น้อยซีรีส ถูกจัดเป็นดาวเคราะห์แคระ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายทรงกลม มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ซ้อนทับกับวัตถุอื่นๆ ที่อยู่ในแถบเข็มขัดดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt)
  4. ไม่เป็นดาวบริวารของดาวดวงอื่น

4. ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids)
คือ เทหวัตถุที่แตกออกมาจากดาวเคราะห์เมื่อนานมาแล้ว หรือเกิดจากการชนกันของดาวเคราะห์น้อยกันเองและไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ได้ ซึ่งจะมีขนาดตั้งแต่ไม่กี่เซนติเมตร จนถึงขนาดเป็นกิโลเมตร ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่มีองค์ประกอบหลักเป็นหิน แต่บางดวงมีโลหะปนอยู่ ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่อยู่ที่ “แถบดาวเคราะห์น้อย”(Asteroid belt) ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ห่างจากโลกประมาณ
150-340 กิโลเมตร

ดาวเคราะห์น้อยมีรูปทรงเหมือนอุกกาบาตแต่เนื่องจากมวลน้อยจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยไม่สามารถยุบรวมเนื้อดาวให้มีรูปร่างทรงกลม วงโคจรของดาวเคราะห์น้อย มีความรีมากกว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ โดยวงโคจรส่วนใหญ่เอียงทำมุมกับระนาบวงโคจรปกติ (สุริยวิถี) เล็กน้อย  ในปัจจุบันได้มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยมากกว่า 3 แสนดวง ดาวเคราะห์น้อยซีรีส (Ceres) ซึ่งอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยได้รับการเลื่อนสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระในปัจจุบัน

5. ดาวหาง (Comets)
เป็นวัตถุขนาดเล็กเช่นเดียวกับดาวเคราะห์น้อยแต่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีแคบ และทำมุมเอียงตัดกับระนาบของสุริยวิถีเป็นมุมสูง ดาวหางมีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็ง (Ice water) ฝุ่นละอองและก๊าซในสถานะของแข็ง เมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าหาดวงอาทิตย์ พลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้มวลของดาวหางระเหิดกลายเป็นก๊าซ ลมสุริยะเป่าก๊าซเหล่านี้ให้พุ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ปรากฏเป็นหางยาวหลายล้านกิโลเมตร (ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ www.lesa.biz)

7. ดาวตก (meteor) ฝนดาวตก และอุกกาบาต (Meteorite)
เกิดจาก สะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งก็คือเศษวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ มีขนาดตั้งแต่ก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่นและเมื่อเคลื่อนที่เข้าสู่บรรยากาศของโลก ทำให้เกิดความร้อนและแสงสว่างมองเห็นเป็น ดาวตก (meteor) และสะเก็ดดาวนั้นหลงเหลือจากการเสียดสีตกลงถึงพื้นดินจะเรียกว่า อุกกาบาต (meteorite) สะเก็ดดาวที่ลุกไหม้จนหมดในชั้นบรรยากาศของโลกเรียกว่า ดาวตก หรือผีพุ่งไต้ (meteor)

ดาวตกหรือผีพุ่งใต้      หลุมอุกกาบาต      ฝนดาวตก

ฝนดาวตก (meteor shower) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดดาวตกจำนวนมากในอัตราที่ถี่กว่าปกติ
ในสภาวะปกติที่ไม่มีฝนดาวตกนั้น จะเกิดดาวตกประมาณ 10 ดวงต่อชั่วโมง แต่ในช่วงที่เกิดฝนดาวตก จะมีดาวตกเกิดขึ้นมาก อาจจะถี่ถึงหลายสิบดวงหรือกว่าร้อยดวงต่อชั่วโมง ฝนดาวตกเกิดจากการที่โลกโคจรเคลื่อนที่ฝ่าเข้าไปในธารอุกกาบาต สะเก็ดดาวเหล่านี้เป็นเศษขยะที่เกิดจากดาวหางเคยโคจรผ่านเข้ามา เมื่อโลกโคจรฝ่าเข้าไป ฝุ่นหรือเศษขยะเหล่านั้นก็จะตกลงสู่บรรยากาศโลกกลายเป็นดาวตกและเนื่องจากอัตราการตกนี้ถี่กว่าอัตราการตกในสภาวะปกติ เราจึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ฝนดาวตก

8. ดวงจันทร์ (Moons หรือ Satellites)
หมายถึง ดาวที่เป็นบริวารโคจรรอบดาวเคราะห์อีกทีหนึ่ง มิได้โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง โลกมีบริวารชื่อ ดวงจันทร์ (The Moon) โคจรล้อมรอบ ขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นก็มีดวงจันทร์บริวารโคจรล้อมรอบเช่นกัน ยกตัวอย่าง ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ 4 ดวง (Galilean moons) ชื่อไอโอ (Io), ยูโรปา (Europa), แกนีมีด (Ganymede) และคัลลิสโต (Callisto) ดาวเสาร์มีดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ชื่อ ไททัน (Titan)

ดาวไอโอ และไททัน

ดาวไอโอ และไททัน

การเคลื่อนที่ของแสงผ่านตัวกลางต่างๆ

01 Inspiration & Engagement
ลิปดากับโพล่าเล่นละครเงามือกันอยู่ โพล่าสังเกตเห็นเงาของขวดน้ำ จึงสงสัยว่า เพราะเหตุใดขวดน้ำจึงมีเงาที่จางกว่าเงาของมือกันนะ ดร.วีจึงบอกว่าเป็นเพราะตัวกลางของแสงไงล่ะ

02 Problem & Question
ตัวกลางแต่ละชนิดทำให้แสงผ่านได้อย่างไร

03 Hypothesis
ถ้าแสงผ่านตัวกลางประเภทต่าง ๆ จะทำให้เกิดผลอย่างไร
ตัวแปรต้น คือ ฉากกันแสง 3 อัน พร้อมเจาะรู
ตัวแปรควบคุม คือ แสงจากแหล่งกำเนิดแสงไฟฉาย
ตัวแปรตาม คือ ลักษณะของแสงที่ผ่านตัวกลางแบบต่าง ๆ

04 Hands – On Activity

  1. ให้เลือกวัตถุมาทีละอย่าง วางไว้บนโต๊ะใกล้ฉากรับแสง
  2. จุดเทียนหรือตั้งไฟฉายส่องไปยังวัตถุ
  3. สังเกต เงาบนผนัง ว่า เข้ม จาง หรือเห็นแสงผ่านได้
  4. ให้ก้มสังเกตว่าเห็นไฟฉายหรือไม่ โดยให้ระดับสายตาอยู่แนวเดียวกับวัตถุและไฟฉายที่ส่องมา

05 Materials

  1. ฉากรับแสง
  2. ไฟฉายหรือเทียนไข
  3. วัตถุต่างๆ 5 ชนิด เช่น กระดาษ ลูกบอล

06 Data Collection
ให้สำรวจ และนับจำนวนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในห้องมืดหรือกล่องดำ บันทึกลงในตาราง

07 Analysis & Discussion

วัตถุที่แสงส่องผ่านแล้วเกิดเงาชัดเจนมีอะไรบ้าง………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

วัตถุที่แสงส่องผ่านแล้วเกิดเงาจางๆ มีอะไรบ้าง………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...

วัตถุที่แสงส่องผ่านแล้วไม่เกิดเงามีอะไรบ้าง………………………………………………………………………………………………………………………………………………………............

วัตถุใดเมื่อมองแล้วเห็นเทียนไขชัดเจน มีอะไรบ้าง……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

วัตถุใดเมื่อมองแล้วเห็นเทียนไขจางๆ มีอะไรบ้าง………………………………………………………………………………………………………………………………………………………....

วัตถุใดเมื่อมองแล้วไม่เห็นเทียนเลย มีอะไรบ้าง………………………………………………………………………………………………………………………………………………………........

08 Conclusion

ตัวกลางโปร่งใสเมื่อนำมาส่องผ่านวัตถุจะมองเห็นได้ในลักษณะใด…………………………………………………………………………………………………………………………

ตัวกลางโปร่งแสงเมื่อนำมาส่องผ่านวัตถุจะมองเห็นได้ในลักษณะใด……………………………………………………………………………………………………………………..

วัตถุทึบแสงเมื่อนำมาส่องผ่านวัตถุจะมองเห็นได้ในลักษณะใด…………………………………………………………………………………………………………………………………

09 Knowledge Tank
ตัวกลางของแสงแสงเดินทางเป็นแนวเส้นตรงออกจากแหล่งกำเนิดแสงทุกทิศทางแสงจะเคลื่อนที่ผ่านอากาศหรือเคลื่อนที่ผ่านสิ่งต่าง ๆ เราเรียกว่า ตัวกลาง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. ตัวกลางโปร่งใส (Transparent) คือ ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้หมดซึ่งทำให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน เช่น กระจกใส อากาศ แก้ว ขวดโหลใส พลาสติกใส น้ำที่ใสสะอาด เป็นต้น

2. ตัวกลางโปร่งแสง (Translucent) คือ ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้บ้างบางส่วน ทำให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน เช่น กระดาษไข กระจกฝ้า หมอก แผ่นฟิล์มกรองแสง เป็นต้น

3. วัตถุทึบแสง (Opaque) คือ ตัวกลางที่ไม่ยอมให้แสงผ่านได้ ทำให้มองไม่เห็นสิ่งต่าง ๆ เช่น กระจกเงา กระดาษแข็ง แผ่นไม้กระเบื้อง แผ่นเหล็ก ก้อนอิฐ เป็นต้น

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ โปร่งแสง และทึบแสง จะเกิดเงาขึ้นมา ซึ่งเงาของแสงที่เกิดจาก วัตถุทึบแสง จะเรียกว่า เงามืด และเงาของแสงที่เกิดจากวัตถุโปร่งแสง จะเรียกว่า เงามัว

 

Comet-Meteorite

ระบบสุริยะ เป็นระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีบริวารประกอบด้วย ดาวเคราะห์แปดดวง และบริวาร ซึ่งดาวเคราะห์แต่ละดวงมีขนาดและระยะห่างจากดวงอาทิตย์แตกต่างกัน และยังประกอบด้วย ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ วัตถุขนาดเล็กอื่นๆ เมื่อเข้ามาในชั้นบรรยากาศเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เกิดเป็นดาวตกหรือผีพุ่งไต้และอุกกาบาต

ลิปดาดูข่าวในทีวีว่าดาวหางฮัลเลย์จะโคจรมาใกล้โลกเลยสงสัยว่าดาวหางมันมีลักษณะเป็นอย่างไรแล้วจะตกลงมาบนโลกได้ไหมนะ โพล่าเลยชวนเด็ก ๆ สร้างดาวหางจำลองกัน

Missons :

  1. ให้นักเรียนหาคำตอบจากข้อมูลที่ครูกำหนดโดยการจดบันทึก รวบรวมข้อมูล
  2. ให้นักเรียนจำลองรูปแบบการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฎของดวงจันทร์ในทุกๆ คืน
  3. ให้ค้นหาข้อมูลดาวหางเกิดจากอะไรบ้าง จากนั้นจำลองดาวหางหรืออุกกาบาต
  4. วัดปริมาณอัตราส่วนในการประดิษฐ์พร้อมนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับดาวหางที่ประดิษฐ์

Materials :

  1. น้ำแข็งแห้ง
  2. ฝุ่นผงดิน
  3. แอลกอฮอล์
  4. น้ำเชื่อม
  5. แป้ง
  6. น้ำส้มสายชู
  7. แอมโมเนีย
  8. ถุงพลาสติก
  9. แว่นตา 10. ถุงมือ

Plan & Design
ดาวหางกับอุกกาบาตมีวิธีทำอย่างไร ให้ค้นหาข้อมูล ตัวอย่างเช่น

Challenge Activity

Lunar phases

Investigate : ลิปดาชอบชวนคุณแม่มองดวงจันทร์บนท้องฟ้าทุกคืนสังเกตเห็นว่าทำไมแต่ละคืนเราถึงมองเห็นดวงจันทร์แตกต่างกันบางคืนดวงจันทร์เต็มดวงบางคืนเห็นดวงจันทร์แค่เสี้ยวหนึ่งจึงเกิดความสงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

Missions :

  1. ให้นักเรียนประดิษฐ์กล่อง Lunar phases เพื่อแสดงการมองเห็นดวงจันทร์ในมุมมองต่าง ๆ
  2. โดยจะต้องแสดงให้เห็นทั้ง 8 ระยะ(เฟส)
  3. อธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์

Materials :

  1. กล่องกระดาษ 8 เหลี่ยม
  2. หลอดไฟ + ถ่านไฟฉาย
  3. อุปกรณ์ตกแต่ง
  4. ลูกโฟม

Plan & Design
ให้นักเรียนวางแผนและออกแบบกล่อง Lunar phases พร้อมอธิบายหลักการทำงานของกล่อง Lunar phases  (ค 3.1.1)

Building & Testing
ประดิษฐ์และทดสอบการทำงานของกล่อง Lunar phases

Evaluation & Redesign

  1. Lunar phases สามารถแสดงการมองเห็นดวงจันทร์ในมุมมองต่างๆ ทั้ง 8 ระยะ
  2. นักเรียนพบปัญหาในการทำกิจกรรมนี้หรือไม่
  3. เมื่อพบปัญหานักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

Solar system Model

Investigate : ลิปดาไปเที่ยวท้องฟ้าจำลองมาและอยากจะเรียนรู้เรื่องของระบบสุริยะให้เข้าใจมากขึ้นจึงชวนโพล่ามาสร้างระบบสุริยะจำลอง ตามข้อมูลที่หามาได้

Missions :

  1. สร้างแบบจำลองแสดงองค์ประกอบของระบบสุริยะ
  2. อธิบายเปรียบเทียบคาบการโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ จากแบบจำลอง หน้าชั้นเรียน
  3. ใช้งบประมาณ ไม่เกิน 50 บาท ต่อชิ้นงาน(หรือใช้อุปกรณ์ที่คุณครูจัดตามความเหมาะสม)

Materials :

  1. ลูกโฟมขนาดต่าง ๆ
  2. สี
  3. มอเตอร์
  4. ลวด
  5. แก้วพลาสติก
  6. กรรไกร
  7. ไม้เสียบลูกชิ้น

Plan & Design
วางแผนและออกแบบระบบสุริยะ(Engineering)

Building & Testing
ให้ประดิษฐ์ชิ้นงานตามแผนงานที่ได้วางไว้ พร้อมอธิบายเปรียบเทียบคาบโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ จากแบบจำลอง

Evaluation & Redesign

  1. แบบจำลองสามารถนำมาอธิบายคาบการโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ได้หรือไม่
  2. นักเรียนพบปัญหาในการทำกิจกรรมนี้หรือไม่
  3. เมื่อพบปัญหานักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

0 ITEMS IN CART
SUBTOTAL : ฿0
Proceed to Checkout